Hyper-Converged Infrastructure

Hyper-Converged Infrastructure: HCI

Hyper-Converged หากเรามองย้อนกลับไปในช่วง 20 กว่าปีก่อนที่เริ่มมีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ภายในองค์กร โดยในเริ่มแรกจะใช้งาน Application เฉพาะอย่างบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ก็สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้งานในองค์กรได้ทั้งหมด แต่ด้วยวันเวลาที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วการเติบโตของแต่ละองค์กรเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ทำให้เครื่อง Server ที่เคยให้บริการเพียงเครื่องเดียวเริ่มไม่สามารถรองรับความต้องการขององค์กรได้อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของพื้นที่ในตัว หน่วยความจำ หน่วยประมวลผล ที่เริ่มทำงานได้ไม่ค่อยทันต่อการใช้งาน และด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดเทคโนโลยี Virtualization Technology ขึ้นมา ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะมีการแบ่ง Server ย่อยๆ ออกมาจาก Server หลัก ได้อีกหลายๆ Server หรือที่เหล่าคนไอทีเรียกมันว่า “ Virtual Machine : VM (เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน) ” นั่นเอง ซึ่งประโยชน์ของเจ้า VM นี้ก็คือ ผู้ดูแลระบบสามารถที่จะเลือกติดตั้ง Operation System: OS สามารถที่จะเลือกติดตั้ง Application ต่างๆ หรือแม้แต่สามารถเลือกใช้งาน Resource ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CPU, Disk, Memory และ Network ได้ตามความต้องการของผู้ใช้งานแต่ละแผนกในองค์กร ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า

Hyper-Converged

จาก Virtual Machine ที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย เทคโนโลยีนี้ก็ได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถยิ่งขึ้นไปอีกซึ่งเราเรียกว่า “Hyper-Converged Infrastructure: HCI” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถรวมเอา Compute + Storage เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดเป็น Compute pool และ Storage pool และใช้ Software-defined เข้ามาบริหารจัดการ ซึ่งเทคโนโลยีของ HCI นี้ หลักๆ คือ การลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการจัดการศูนย์ข้อมูล ทำให้ Application และ Server เหล่านั้นได้รับการจัดสรรทรัพยากรร่วมกันโดยใช้แพลตฟอร์มเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง HCI ยังเป็นระบบที่เรียบง่ายและมีความยืดหยุ่นมากกว่าระบบเดิม ที่เคยกล่าวมาข้างต้น อีกทั้งยังใช้งานได้ง่าย และเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดกลาง เพราะว่า HCI นี้สามารถเพิ่มทรัพยากรได้ตามการเติบโตขององค์กรได้เป็นอย่างดี นั่นจึงเป็นที่มาของเหตุผลหลักๆ ที่แต่ละองค์กรจะหันมาเปลี่ยนไปใช้ระบบ HCI ที่มอบสิ่งต่างๆ ให้ดังนี้ การปรับใช้อย่างรวดเร็ว, มีระบบอัตโนมัติที่มาช่วยลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการ, ลดต้นทุนในการจัดหาจัดซื้อ Server การจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ, เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของแต่ละ Application, มีความสามารถในการปรับขยายทรัพยากรได้ตามความต้องการอย่างรวดเร็ว และสุดท้ายจะเป็นในเรื่องของความปลอดภัยในการปกป้องข้อมูล ที่มีระบบในการกำหนดกู้คืน และสำรองข้อมูล ในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดคิดต่างๆ บทความอื่นๆ IBM QRadar ติดตาม Facebookpage ได้ที่ FB: A&A Neo Technology